Gold Field Refinery <
ข่าวเศรษฐกิจและการลงทุน

      ELECTION 2016 'การเลือกผู้นำสหรัฐ' มีผลต่อโลก-ต่อไทย!!
ELECTION 2016
"การเลือกผู้นำสหรัฐ" มีผลต่อโลก-ต่อไทย!!

ขณะที่การเมืองไทยยังคงวุ่นวายฝุ่นตลบ ข้ามโลกไปที่การเมืองสหรัฐอเมริกาก็ได้ลุ้น-ได้รู้กันไปเรียบร้อยแล้วว่า บารัค โอบามา วุฒิฯผิวสีแห่งพรรคเดโมแครต ชนะ จอห์น แมคเคน คุณปู่จอมเก๋าแห่งพรรครีพับลิกันในการ “เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ” ก้าวขึ้นเป็นผู้นำสหรัฐคนที่ 44 และนี่เป็นข่าวดังระดับโลก


ทั่วโลกรวมถึงไทยต่างจับตาการเลือกตั้งครั้งนี้
ซึ่งวันนี้ 27 กันยายน 2559 เป็นการเปิดศึกดีเบตนัดแรก ทรัมป์-ฮิลลารี ดุเด็ด!สร้างสถิติคนดูถ่ายทอดสด TV 100 ล้าน นับถอยหลังไปอีกไม่นานผลก็ใกล้เข้ามาๆแล้ว


ถามว่าทำไมต้องจับตา-ต้องสนใจ
? ก็มีคำตอบ..



ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า...ประชาคมโลกและประเทศต่าง ๆ ล้วนต้องติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองของสหรัฐทั้งสิ้น เนื่องจากสหรัฐเป็นประเทศใหญ่ มีมูลค่าการค้าขายระหว่างประเทศในอัตราที่สูง รวมถึงมีพลังอำนาจและบทบาทในองค์กรสำคัญระหว่างประเทศ ทำให้ทั้งไทย และประเทศต่าง ๆ


จำเป็นต้องรู้ว่าคนอเมริกันคิดอย่างไร
?

ประเทศสหรัฐจะมีทิศทางอย่างไรในอนาคตข้างหน้า
?

ผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่เป็น
“ผู้นำสูงสุดของประเทศมหาอำนาจโลกเสรี”



“ผู้นำมหาอำนาจเช่นสหรัฐนี้ ย่อมมีนัยสำคัญและมีความหมายต่อการเมืองโลก-การค้าโลก ทั้งภาพรวมในด้านต่าง ๆ ทิศทางเศรษฐกิจ ความมั่นคง ปัญหาการก่อการร้าย ผ่านมาทางนโยบายของสหรัฐผ่านตัวผู้สมัครและพรรคการเมืองที่หนุนหลัง ซึ่งท่าทีทิศทางเหล่านี้ล้วนมีผลต่อบรรยากาศประชาคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง”



สำหรับประเทศไทย ศ.ดร.ไชยวัฒน์ชี้ว่า...อันดับแรกที่เกี่ยวพันมากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของมูลค่าการส่งออก เนื่องจาก
“มูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศไทยเราส่งออกไปสหรัฐสูงถึงร้อยละ 20 จากมูลค่ารวมทั้งหมด” ยิ่งถ้าหากสหรัฐกำลังประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนัก ไทยยิ่งต้องสนใจ
แต่ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐดีมากก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องติดตามเช่นกัน


ทั้งนี้ หากสหรัฐได้ผู้นำที่สามารถเข้ามากอบกู้เศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่อยู่ให้ฟื้นฟูขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ไทยก็จะได้รับอานิสงส์ด้วย แต่ถ้าหากได้ผู้นำสหรัฐที่มีนโยบายเศรษฐกิจไม่ดี เศรษฐกิจสหรัฐที่พังอยู่ยิ่งทรุดโทรมหนักขึ้น ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าโดยรวมระหว่างประเทศและต้องลามมากระทบไทยด้วยอย่างแน่นอน



“หากประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ไว ก็จะทำให้เกิดเม็ดเงินไหลเวียนเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐให้มีอาการดีขึ้น ซึ่งพอคนอเมริกันมีเงินมีรายได้ที่ดีขึ้น การจับจ่ายใช้สอยทั้งอุปโภค-บริโภคก็จะเพิ่มขึ้นและผลดีทางอ้อมก็จะตกถึงไทยด้วย เพราะสามารถส่งออกสินค้าได้เพิ่มขึ้น มีผลดีกับเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศของไทยอีกต่อหนึ่ง” ศ.ดร.ไชยวัฒน์ระบุ



นอกจากนี้ ในเรื่องความมั่นคง นักรัฐศาสตร์คนเดิมระบุว่า... เป็นที่ทราบกันดีว่าสหรัฐรับบทบาทเป็น
“พี่ใหญ่ของโลกเสรี” มานาน และมีอำนาจที่จะกดดันประเทศต่าง ๆ ในโลกได้ ดังนั้นหากโลกได้ประธานาธิบดีสหรัฐที่มีท่าทีแข็งกร้าว หรือมีนโยบายต่างประเทศที่จะไปเพิ่มปัจจัยให้กับสถานการณ์การก่อการร้าย ผลกระทบก็จะเกิดขึ้นกับประชาคมโลกจนอาจทำให้บรรยากาศตึงเครียด ส่งผลต่อการลงทุน-เศรษฐกิจโลก



“แต่ถ้าหากสหรัฐได้ผู้นำที่มีท่าทีผ่อนปรนเป็นมิตร ความตึงเครียดต่าง ๆ ก็จะคลี่คลายหรือทำให้เกิดทิศทางที่ดี ส่งผลดีต่อระบบโดยรวมของทั้งโลกรวมถึงกับประเทศไทยด้วย”



ผู้สันทัดกรณีชี้ต่อไปว่า..สหรัฐเป็นประเทศใหญ่ รับบท
“ยักษ์ใหญ่ของโลก” มีอิทธิพลในองค์กรสำคัญระหว่างประเทศมาก ยักษ์ตัวนี้ขยับตัวจะวิ่ง จะเดิน จะลุก จะนั่ง ย่อมส่งผลกระทบกับระบบโลกมาก เหมือนอย่างตอนที่ไทยต้องไปร่วมกับสหรัฐทำสงครามในตะวันออกกลาง ทั้งที่เราอาจไม่อยากไป แต่ก็จำเป็นต้องไปเพื่อแสดงไมตรีจิต เหมือน ๆ กับเราถูกบีบให้ต้องเลือกข้าง ซึ่งย่อมมีทั้งผลดี-ผลเสีย



อย่างเช่นระหว่าง
“โอบามา” กับ “แมคเคน” ใครเป็นประธานาธิบดีสหรัฐก็ย่อมมีผลดี-ผลเสียกับไทยคนละด้าน โดยโอบามามีแนวนโยบายที่ค่อนข้างลดแรงตึงเครียดระหว่างประเทศมากกว่าแมคเคน ซึ่งอาจทำให้บรรยากาศการค้าขายของโลกโดยรวมผ่อนคลายขึ้น แต่ขณะเดียวกันนโยบายปกป้องสิทธิแรงงานอเมริกันจากนโยบายการค้าเสรีหรือเอฟทีเอตามแนวของโอบามา ก็อาจส่งผลกระทบกับประเทศไทยเช่นกัน



“โอบามาน่าจะมีภาษีที่ดีกว่าในสายตาประชาคมโลก เพราะนโยบายของแมคเคนเป็นนโยบายคล้าย ๆ กับอดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยูบุช ซึ่งจากโพลสำรวจเห็นได้ชัดว่าคนอเมริกันเริ่มขยาดกับการทำสงคราม แต่ทั้งนี้ก็คงต้องดูกันอีกทีหลังจากโอบามารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการแล้ว เพราะตอนหาเสียงกับหลังหาเสียง นโยบายกับการปฏิบัติบางทีก็เป็นคนละเรื่อง”



ศ.ดร.ไชยวัฒน์ยังระบุด้วยว่า..อย่างตอนที่บิล คลินตัน หาเสียงก่อนได้เป็นประธานาธิบดี คลินตันก็วิพากษ์วิจารณ์จีนเสียใหญ่โต แต่พอได้เป็นประธานาธิบดีกลับจูบปากกับจีนเฉย ซึ่งมองในเชิงรัฐศาสตร์ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ช่วงหาเสียงนักการเมืองจำเป็นต้องหว่านไปทั่วเพื่อคะแนนเสียง แต่พอถึงเวลาก็เลือกใช้เฉพาะที่เป็นประโยชน์
“หรือตรงนี้จะเป็นคุณสมบัติพิเศษของนักการเมืองทั่วโลกก็ไม่รู้ ??”
ประโยคท้ายนี่ก็สุดแท้แต่ประชาชนคนไทยจะคิดเห็นเป็นเช่นไร
ก็ฝากติดตามกันต่อไป และรอลุ้นผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐกันในต้นเดือน พฤศจิกายน 2559 นี้ด้วยค่ะ



เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนเพิ่มเติมโดย Gcap Gold

เครดิตข้อมูลจาก www.goldtraders.or.th



 
Privacy Policy
Cookies Policy
บริษัท โกลด์ ฟิลด์ รีไฟเนอรี จำกัด 14 ซอยสุขาภิบาล2 ซอย31 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250 โทร. 0-2035-3888 แฟกซ์ 0-2035-3898