Gold Field Refinery <
ข่าวเศรษฐกิจและการลงทุน

      เงินฟ้อกับราคาทองคำ
เงินเฟ้อ คือ ราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งในระบบเศรษฐกิจมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็จะมีผลทำให้ค่าของเงินที่เราถืออยู่ลดลงไปด้วยเช่นกัน


ตัวเลขชี้วัดเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยวัดโดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า โดย กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศอัตราเงินเฟ้อเป็นประจำทุกเดือน โดยวิธีวัดอัตราเงินเฟ้อ จากการคำนวนตัวเลขดรรชนีราคา


1. ผู้บริโภค (CPI) = เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator)


2. ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน


สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อ


1. ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost –Push Inflation) เป็นเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ผลิตจะต้องเสนอขายสินค้าในราคาที่สูงขึ้น 

2. ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น(Demand-Pull Inflation) ความต้องการใช้จ่ายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าและบริการไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ มีความต้องการใช้จ่ายมากกว่าผลผลิตที่มีอยู่ ซึ่งส่งผลทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น


การควบคุมภาวะเงินเฟ้อ

1. นโยบายการเงิน รัฐบาลและธนาคารกลางส่วนใหญ่ใช้นโยบายทางการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางสหรัฐสามารถเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ชะลอหรือหยุดการผลิตเงิน เพื่อให้เกิดการลดปริมาณของเงินในระบบ


2. การตรึงอัตราแลกเปลี่ยน หลายๆประเทศทั่วโลกได้ทำการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีประโยชน์ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ


3. การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้า การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้าจะถูกมองว่าเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวซึ่งสามารถนำมาใช้เฉพาะในกรณีพิเศษ และจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อใช้ร่วมกับนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อแก้ต้นเหตุของภาวะเงินเฟ้อ



สรุปเงินเฟ้อ เงินเฟ้อที่สูงไม่เกิน 5% จะเรียกเงินเฟ้ออย่างอ่อน หากสูงขึ้นแล้วปรับลดลง จะไม่นับว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อซึ่งเงินเฟ้อในระดับอ่อนๆ จะไม่สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ แต่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ จะทำให้ค่าของเงินที่เราถืออยู่ด้อยค่าลงไป ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจไม่สามารถผลิตหรือลงทุนได้เพราะมีความไม่แน่นอนเรื่องราคาอยู่สูง ซึ่งจะมีผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจในที่สุด



ทองคำ เป็นความหมายแห่งความมั่งคั่งเป็นสินทรัพย์ที่ยอมรับของคนทั้งโลก และเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Heaven) แล้วเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป มีปัญหา ทองคำก็จะเป็นตัวเลือกแรกๆที่ทุกคนจะซื้อเป็นเพื่อเก็งกำไร


ปัจจัยที่มีผลกับทองคำ


· ระยะยาว ราคาทองคำมีสัดส่วนความสัมพันธ์แบบ 1:1 กับเงินเฟ้อของสหรัฐ


· ราคาทองคำ ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเงินเฟ้อในส่วนอื่นๆของโลก


· ความเบี่ยงเบนจากปัจจัยอื่น เช่น การเมือง ความเสี่ยงทางการเงิน ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อาจจะกินเวลาสั้นๆหรือเป็นปี แต่สุดท้าย ก็จะกลับมาอยู่ที่ความสัมพันธ์หลัก คือเงินเฟ้อสหรัฐเท่านั้น



เงินเฟ้อกับทองคำ อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดราคาทองคำ โดยหากปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำจะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นและในยามที่อัตราเงินเฟ้อต่ำ ราคาทองคำก็มีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงด้วยเช่นเดียวกัน กล่าวคือหากเงินเฟ้อสหรัฐขยับขึ้น 1% ราคาทองคำจะขยับตามขึ้นไป 1% ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังจะมีความต้องการถือครองทองคำมากขึ้นในช่วงที่มีภาวะสงครามเกิดขึ้น เพราะทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่มีประสิทธิภาพ โดยเราจะสังเกตทิศทางอัตราเงินเฟ้อได้จากทิศทางราคาพลังงาน (น้ำมัน) และราคาอาหารต่างๆ เพราะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเงินเฟ้อโดยตรง


 
Privacy Policy
Cookies Policy
บริษัท โกลด์ ฟิลด์ รีไฟเนอรี จำกัด 14 ซอยสุขาภิบาล2 ซอย31 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250 โทร. 0-2035-3888 แฟกซ์ 0-2035-3898